ระบบรดน้ำต้นไม้แบบไหนที่เหมาะกับสวนของคุณ

หากพูดถึงระบบรดน้ำต้นไม้ ท่านคงจะคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วกับระบบรดน้ำต้นไม้ที่ท่านคุ้นเคยมาก่อน แต่สมัยนี้อุปกรณ์การรดน้ำต้นไม้ได้มีเข้ามาสู่ตลาดมากมาย และได้พัฒนาขึ้นมามาก ระบบที่ท่านใช้งานอยู่อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ใช่ที่สุดก็ได้ เราขอแบ่งกลุ่มระบบรดน้ำต้นไม้ออกเป็นกลุ่มๆ พร้อมพูดถึงลักษณะที่สำคัญ รวมถึงข้อดีข้อเสีย เพื่อท่านจะได้เปรียบเทียบในการพิจารณาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป

ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะระบบควบคุมการรดน้ำต้นไม้เท่านั้น โดยได้แบ่งเป็นชนิดต่างๆ แต่เรื่องการเดินท่อน้ำ และการติดตั้งหัวจ่ายน้ำนั้นมีหลักการเดียวกันหมดคือเมื่อระบบได้จ่ายน้ำที่มีปริมาณและแรงดันที่เพียงพอมาตามท่อ การรดน้ำตามจุดต่างๆก็ถือว่าใช้ได้ ท่อที่นิยมใช้ในการเดินท่อในสวนเป็นท่อพีอีอ่อน (ท่อดำ) เนื่องจากสามารถเลี้ยวงอไปตามแนวเดินท่อได้ง่าย และสามารถเจาะรูหัวจ่ายมินิสปริงเกอร์ได้

ระบบควบคุมการรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ

1. ระบบรดน้ำต้นไม้ขนาดเล็ก ระบบใช้ถ่าน

สำหรับการรดน้ำต้นไม้ ไม้กระถาง ไม้แขวน หรือไม้พุ่มสำหรับทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว ระบบน้ำหยด ระบบพ่นละอองน้ำ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตั้งเวลาเปิดปิดแบบอัตโนมัติในที่นี้ใช้วาล์วตั้งเวลา (Tap Timer) ใส่ถ่าน ใช้ติดตั้งเข้ากับก๊อกน้ำสนามที่เป็นเกลียว สามารถหมุนวาล์วตั้งเวลาเข้าไปได้เลย และต่อท่อออกไปรดน้ำ

ข้อดี : ติดตั้งง่าย สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง ราคาถูก ใช้ถ่านก้อน ไม่ใช้ไฟฟ้าทำให้ปลอดภัย

ข้อเสีย : อายุการใช้งานของตัวตั้งเวลาสั้นกว่าระบบไฟฟ้า รูท่อปล่อยน้ำมีขนาดเล็ก (รูประมาณนิ้วก้อย) ทำให้จ่ายน้ำไปที่หัวจ่ายน้ำได้ไม่มาก เนื่องจากได้ปริมาณน้ำน้อยกว่าชนิดใช้โซลีนอยวาล์ว และบางรุ่นหากถ่านอ่อนหรือถ่ายหมด มันจะไม่มีแรงปิดวาล์วน้ำทำให้น้ำไหลทิ้งตลอดเวลา (ประเด็นนี้แก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่านใหม่ก่อนเวลา)

สินค้าที่เกี่ยวข้อง :

วาล์วตั้งเวลารดน้ำต้นไม้ (คลิก)  

หัวจ่ายน้ำแบบมินิสปริงเกอร์ (คลิก) 

                   

2. ระบบรดน้ำต้นไม้ระบบกลาง ใช้คอนโทรลเลอร์ควบคุมวาล์วไฟฟ้าแบบแบ่งโซน

สำหรับการรดน้ำต้นไม้ สนามหญ้า เหมาะสำหรับบ้านขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เช่นบ้านเดี่ยวที่มีที่ดินประมาณ 50-200 ตร.ว. จัดสวนรอบบ้าน มีสนามหญ้า

ระบบการรดน้ำต้นไม้ที่แนะนำ เป็นระบบที่ใช้ไทม์เมอร์คอนโทรลเล่อร์ควบคุมการเปิดปิดของวาล์วไฟฟ้า (โซลีนอยวาล์ว) ซึ่งคอนโทรลเล่อร์ 1 ตัวสามารถควบคุมการทำงานของโซลีนอยวาล์วได้มากกว่า 1 ตัว โดยสั่งให้วาล์วเปิดทีละตัวเท่านั้น เพื่อให้ปั๊มมีแรงดันเพียงพอในการจ่ายน้ำโดยแต่ละโซลีนอยวาล์วจะทำการต่อท่อน้ำไปที่หัวจ่ายน้ำในแต่ละพื้นที่การรดน้ำของบ้าน ระบบนี้นำน้ำที่มีแรงดันน้ำอยู่แล้วมาใช้ เช่นน้ำจากปั๊มน้ำอัตโนมัติของบ้าน เป็นต้น 

ข้อดี : วาล์วน้ำมีขนาดใหญ่กว่าระบบใช้ถ่าน ทำให้จ่ายน้ำออกได้ปริมาณที่มากให้กับหัวจ่ายน้ำได้หลายหัว วาล์วไฟฟ้ามีความทนทานกว่าและหากกรณีที่ไฟฟ้าดับไป วาล์วไฟฟ้าจะไม่เปิดน้ำทิ้งเพราะเป็นวาล์วชนิดปกติปิด 

เลือกใช้คอนโทรลได้หลายแบบ หลายรุ่น โดยคอนโทรล 1 ตัวสามารถควบคุมวาล์วไฟฟ้าได้หลายตัว บางรุ่นควบคุมได้ถึง 24 ตัว ทำให้ติดตั้งกับระบบใหญ่ๆได้ สามารถต่ออุปกรณ์เซนเซอร์น้ำฝนได้ และในบางรุ่นสามารถควบคุมการทำงานของระบบผ่าน Wifi ได้ โดยการใช้งานผ่าน App

ข้อเสีย : การติดตั้งจะต้องตัดต่อท่อพีวีซี และเดินสายสัญญานซึ่งต้องอาศัยช่างไฟฟ้าหรือช่างประปา อาจจะไม่สามารถเดินระบบเองได้ ระบบคอนโทรลใช้ไฟฟ้าในการทำงาน จึงควรใช้ช่างติดตั้งให้ (แต่สายสัญญานควบคุมวาล์วเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำ AC 24V ถือว่าปลอดภัย)

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง :

ตัวคอนโทรลเล่อร์ตั้งเวลารดน้ำ (คลิก) 

โซลีนอยวาล์ว (คลิก) 

หัวจ่ายน้ำแบบฝังดิน (คลิก) 

หัวจ่ายน้ำแบบติดตั้งเหนือดิน (คลิก) 

 

3. ระบบรดน้ำต้นไม้ระบบใหญ่ ใช้คอนโทรลเลอร์ควบคุมทั้งวาล์วไฟฟ้าและปั๊มน้ำ

ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติระบบใหญ่ หรือระบบรดน้ำต้นไม้แบบใช้ปั๊มน้ำหอยโข่ง เหมาะสำหรับพื้นที่การรดน้ำมากๆ เช่นบ้านพักอาศัยขนาดตั้งแต่ 80 ตร.ว. ขึ้นไป โรงงาน รีสอร์ต โรงแรม สนามกอร์ฟ หรือสวนสาธารณะ ล้วนติดตั้งระบบรดน้ำต้นไม้ระบบนี้ แต่พื้นที่ใหญ่เล็กก็ต่างกันที่ขนาดของปั๊มน้ำ ขนาดท่อ หรือจำนวนโซนการรดน้ำเท่านั้น

ระบบมีตัวคอนโทรลเลอร์ ควบคุมการทำงานของทั้งปั๊มน้ำ และวาล์วโซลีนอยไฟฟ้าของแต่ละโซนให้ทำงานสอดคล้องกัน เมื่อเริ่มทำงานคอนโทรลเลอร์จะสั่งให้ปั๊มน้ำเริ่มทำงาน และสั่งให้เปิดโซลีนอยวาล์วโซนแรกทำงาน และสั่งวาล์วตัวต่อไปให้เปิดทีละตัวตามระยะเวลาที่เราต้องการ เมื่อการจ่ายน้ำครบทุกโซนแล้ว วาล์วตัวสุดท้ายจะปิดพร้อมกันนั้นปั๊มน้ำก็หยุดทำงาน

ข้อดี : เหมาะกับระบบรดน้ำต้นไม้พื้นที่ใหญ่ ใช้แรงดันน้ำค่อนข้างมาก เช่นการรดน้ำสนามหญ้าโดยใช้หัว pop-up เป็นต้น 

วาล์วไฟฟ้าใช้ขนาดใหญ่ๆได้ ตามขนาดของปั๊มน้ำ ทำให้จ่ายน้ำให้หัวจ่ายน้ำพื้นที่การรดน้ำได้มาก

ข้อเสีย : มีอุปกรณ์ไฟฟ้าซับซ้อนขึ้นมา จะใช้ช่างประปาหรือช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญ

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง :

ตู้ควบคุมปั๊ม หรือตู้สตาร์ทปั๊ม (คลิก)  (ติดตั้งคอนโทรลเลอร์ตั้งเวลาในชุดอยู่แล้ว)

โซลีนอยวาล์ว (คลิก) 

หัวจ่ายน้ำแบบฝังดิน (คลิก) 

หัวจ่ายน้ำแบบติดตั้งเหนือดิน (คลิก) 

 

Visitors: 334,249